แผนที่ระบบราง

ในยุคแรกที่ระบบรางให้บริการการเดินทางระหว่างเมือง การทำแผนที่ระบบรางเป็นการวางรูปโครงข่ายซ้อนทับลงไปโดยตรงบนแผนที่ภูมิประเทศตามมาตราส่วน แต่เมื่อระบบรางเปลี่ยนบทบาทเข้ามาเป็นโครงข่ายที่ให้บริการเชื่อมต่อระหว่างชานเมืองและตัวเมือง ช่างทำแผนที่ก็เริ่มประสบปัญหากับการรักษาสมดุลระหว่างพื้นที่ทั้งสอง แผนที่ระบบรางจะต้องแสดงรายละเอียดของเส้นทางในเมืองชั้นในที่ซับซ้อน ขณะที่แผนที่บริเวณชานเมืองไม่ต้องการรายละเอียดสูงแต่ต้องใช้พื้นที่มากเพื่อแสดงระยะทางจริงบนมาตรส่วนเดียวกัน
 
Harry Beck ช่างเขียนแบบชาวอังกฤษ นำเอารูปแบบการเขียนแผนผังวงจรไฟฟ้ามาปรับใช้กับแผนที่รถไฟใต้ดินของลอนดอน Beck เชื่อว่าผู้เดินทางไม่สนใจความถูกต้องของระยะทางหรือตำแหน่งจริงของสถานี แต่ต้องการทราบวิธีการเชื่อมต่อจากสถานีหนึ่งไปยังสถานีอื่นๆ และตำแหน่งที่สามารถเปลี่ยนขบวนได้เท่านั้น เขาจึงสร้างแผนที่ซึ่งให้ข้อมูลการเดินทางแต่ไม่อ้างอิงกับมาตราส่วน โดยใช้เพียงเส้นในแนวนอน แนวตั้ง และเส้นทแยงทำมุม 45 องศา รถไฟสายต่างๆ ถูกกำหนดให้มีสีที่แตกต่างกัน สถานีถูกวางให้มีระยะห่างเท่าๆ กัน พื้นที่ส่วนกลางถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อแสดงชื่อและตำแหน่งสัมพัทธ์ของสถานี ขณะที่พื้นที่ชานเมืองถูกย่อให้เล็กลงเพื่อบรรจุข้อมูลทั้งหมดในกระดาษแผ่นเดียว
 
การขนส่งแห่งลอนดอน (London Transport) ตีพิมพ์และแจกจ่ายแผนที่ของ Beck ในปีค.ศ. 1933 และกลายเป็นแผนที่ฉบับที่ได้รับความนิยมจากผู้เดินทางอย่างมาก การขนส่งแห่งลอนดอนยึดรูปแบบของ Beck ในการปรับปรุงแผนที่ระบบรถไฟใต้ดินในแต่ละยุค โดยเพิ่มเส้นทางและสถานีใหม่ที่สร้างขึ้นตลอดระยะเวลากว่า 80 ปี ขณะที่เมืองต่างๆ ก็นำรูปแบบแผนที่ของ Beck ไปปรับใช้กับแผนที่ระบบราง รถโดยสารและระบบขนส่งสาธารณะเชื่อมต่อในเมืองจนกลายเป็นรูปแบบที่คุ้นตาของผู้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะทั่วโลกในที่สุด

แผนที่รถไฟใต้ดินลอนดอน ค.ศ. 1933 โดย Harry Beck www.londonist.com

120107163 3151132511680058 5677918687647147854 o

แผนที่รถไฟใต้ดินของ London เป็นแผนที่ต้นแบบสำหรับ Transit Map อีกหลายเมืองทั่วโลก

120191600 3151211881672121 5481662607997321413 o

จุดเด่นในแผนที่ของ Moscow อยู่ที่เส้นทางรอบเมืองที่แสดงเป็นวงกลมสองวงทำหน้าที่เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่ชานเมืองคล้ายวงแหวนในระบบถนน ขณะที่มีสายอื่นๆ พาดผ่านตัวเมืองจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง

120113437 3151132671680042 8897431148641331520 o

Singapore มีการปรับปรุงแผนที่รถไฟฟ้าใหม่ให้สาย Circle มีลักษณะเป็นวงกลมคล้ายกับ Moscow และปรับระยะห่างระหว่างแต่ละสถานีบนวงกลมให้เท่ากัน พร้อมทั้งขยายพื้นที่ดาวน์ทาวน์ให้มีขนาดใหญ่กว่าปกติเพื่อใส่รายละเอียดสถานีให้มากขึ้น

120092441 3151132358346740 4582827824611605352 o

ระบบขนส่งมวลชนของ Budapest มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก สามารถแสดงระบบขนส่งรองอย่าง tram และ bus ไว้บนแผนที่เดียวกันกับระบบขนส่งมวลชนหลัก โดยให้ tram และ bus ทุกสายใช้สีเดียวกัน ทำให้วางแผนการเดินทางเชื่อมต่อได้สะดวก

120192813 3151132441680065 5074708424910653139 o

แผนที่ของ Chicago ยึดแนวถนนที่ถูกวางเป็นตารางเป็นแนวหลักแล้วซ้อนแผนที่รถไฟฟ้า “L” ลงไปเพื่อแสดงตำแหน่งสถานีที่เทียบกับถนนอย่างถูกต้อง และแยก loop ในดาวน์ทาวน์ไว้ใน insert map เพื่อแสดงรายละเอียด

120130201 3151132388346737 7727495962791927999 o

แผนที่ของ Stuttgart ให้ความรู้สึกถึงรูปภาพแบบ isometric โดยยึดเส้น 45 องศาเป็นแนวแกนหลัก ขณะที่ใช้เส้นตรงทั้งทางขวางและทางดิ่งน้อยมาก ภายหลังได้มีการออกแบบใหม่ให้ดูง่ายขึ้นแต่ยังยึดเส้นเฉียงเป็นหลักอยู่ https://www.vvs.de/download/Verbund_Schienennetz.pdf

120078916 3151132381680071 698816519374752839 o

แผนที่ระบบรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP) จัดทำโดยสาขาวิชาวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง มหาวิทยาลัยมหิดล

120089424 3151132915013351 5803356676585373121 o

Cluster of Logistics and Rail Engineering, Faculty of Engineering, Mahidol University 
25/25 Phuttamonthon 4 Rd., Salaya, Phuttamonthon, Nakhon Pathom 73170 
Tel : (+66)2-889-2138 ext. 6619  e-mail: potjanee.sen@mahidol.edu

Copyright ©2024 Faculty of Engineering, Mahidol University. All Rights Reserved.

facebook_page_plugin
facebook_page_plugin