Placeholder image

หลักสูตรปริญญาตรี 2566


Admissions Criteria

Under Construction

Admission Process

Under Construction

Graduation Requirements

Under Construction

Plan of Study

Plan A : Power Engineering

Plan B : Communication Engineering

Plan C : Electrical Engineering Technology

Link course description (pdf)

Prerequisite structure (pdf)

*For Plan C, students can develop their own degree plans to meet the selected field of interests.

PEOs

Placeholder image

SOs

Placeholder image

รับรองหลักสูตร


ABET คืออะไร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสภาวิศวกร และจากองค์กร ABET ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถศึกษาต่อ หรือสมัครสอบขอใบประกอบวิชาชีพในประเทศต่างๆที่กำหนดใช้มาตรฐาน ABET ได้ การรับรองมาตรฐานนี้ยังเป็นการรับรองว่าการเรียนการสอนของหลักสูตรเรา เป็นไปตามมาตรฐานของการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย

  • มีกระบวนการรรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้าง Program Educational Outcomes ที่ตอบโจทย์เทคโนโลยีปัจจุบัน และแนวโน้มตลาดงานโลกในอนาคต
  • การสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษาได้รับ ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา (student learning outcomes) ครบทั้ง 7 ด้านตามมาตรฐานของ ABET
  • การออกแบบวิธีการสอนแบบมีผู้เรียนรู้เป็นศูนย์กลาง
  • การวัดผลจากสิ่งที่ผู้เรียนทำได้ (outcome-based approach)
  • การเตรียมอุปกรณ์ในห้องเรียนและเครื่องมือในห้องปฏิบัติการให้ทันสมัยและเพียงพอต่อการเรียนรู้
  • กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นประสบการณ์การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering design practice) อย่างเป็นระบบและเข้มข้น ผ่านการทำโครงงาน Capstone Project
  • การจัดทำระบบการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ตลอดจนการสร้างเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (life long learning) สำหรับนักศึกษาทุกคนในหลักสูตรผ่านการทำโครงงานและการทำกิจกรรมเสริมต่างๆ (soft skills)
  • การประเมินรายวิชาสอนภายใน (peer-review) ประกอบกับการประเมินผลการเรียนรู้จากนักศึกษาเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการสอนอย่างต่อเนื่อง (continuous improvement)

Placeholder image Placeholder image Placeholder image


หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 เปิดให้นักศึกษาเลือกเรียนได้สามแขนงวิชาชีพ คือ วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร และ เทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า แต่ละแขนงวิชาชีพสามารถเลือกเรียนแผนโครงงาน (วิชาการ) หรือแผนสหกิจศึกษาเพื่อเพิ่มประสบการณ์การทำงานกับผู้ประกอบการได้ โดยจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรจะเท่ากันทั้งหมดที่ 138 หน่วยกิต

Placeholder image


การเรียนในสองแขนงวิชาชีพแรกจะเป็นการเรียนที่สอดคล้องกับองค์ความรู้ตามที่สภาวิศวกรกำหนด เพื่อให้นักศึกษาสามารถขอสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมของประเทศไทยเมื่อจบการศึกษาได้ ในขณะที่แขนงวิชาชีพเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นการเรียนแบบใหม่ แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เปิดให้นักศึกษาออกแบบแผนการเรียนของตนเองได้ โดยสามารถเลือกเรียนข้ามศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ ของวิศวกรรมศาสตร์ได้ตามความสนใจ ทั้งสามแขนงวิชาชีพมีรายละเอียดดังนี้



แขนงวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง

นักศึกษาจะได้เรียนรู้ กระบวนการผลิต ส่งจ่าย จำหน่าย และการใช้งานของระบบไฟฟ้ากำลัง ข้อพึงปฏิบัติ มาตรฐาน และความปลอดภัยในการออกแบบและติดตั้งทางไฟฟ้า รวมถึงการจัดการโรงไฟฟ้า และต่อยอดความรู้สู่การแปลงรูป การกักเก็บและการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า รวมทั้งนวัตกรรมทางด้านพลังงานใหม่ ๆ อาทิ ระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ ระบบ smart grid การจัดการและวางแผนให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

รายวิชาเฉพาะทางวิศวกรรมที่เรียนจะเป็นไปตามองค์ความรู้ที่สภาวิศกรกำหนดจำนวน 20 หน่วยกิต และรายวิชาเลือกตามองค์ความรู้เพิ่มเติมอีก 6 หน่วยกิต

วิชาบังคับ: Control systems, Power Electronics, Electrical Power System Analysis, Electrical Machines, Electrical System Design, Electrical Power Laboratory, Electrical Machines Laboratory, Renewable Energy.

ความก้าวหน้าในสายอาชีพหลังจบการศึกษา อาทิ Electrical System Engineer, Power Electronics Engineer, Power plant / Smart Grid Engineer, Field Electrical Engineer, Interconnection / System Integration Engineer, Power Protection Engineer, Renewable Energy Engineer.



แขนงวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร

นักศึกษาจะได้เรียนรู้หลักการทำงานของระบบสื่อสารทั้งแบบมีสายและไร้สาย ระบบการรับ-ส่งสัญญาณที่ความถี่ต่างๆ ตั้งแต่คลื่นวิทยุไปจนถึงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ความมั่นคงของระบบข้อมูลและระบบสื่อสาร เพื่อต่อยอดสู่การออกแบบและการทำงานของเครือข่ายโทรคมนาคม สารสนเทศเพื่อการบริการ

รายวิชาเฉพาะทางวิศวกรรมที่เรียนจะเป็นไปตามองค์ความรู้ที่สภาวิศวกรกำหนดจำนวน 20 หน่วยกิต และรายวิชาเลือกตามองค์ความรู้เพิ่มเติมอีก 6 หน่วยกิต

วิชาบังคับ: Control Systems, Principles of Communications, Communication Network and Transmission Lines, Digital Communications, Data Communications and Networks , Telecommunication Laboratories I and II.

ความก้าวหน้าในสายอาชีพหลังจบการศึกษา อาทิ Telecom Network Engineer, Telecom System Engineer, RF Planning / Optimizing Engineer, Telecom Project Manager, Telecom Sale Manager.

Placeholder image




แขนงวิชาชีพเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า

นักศึกษาจะมีอิสระในการเรียนแบบผสมผสานตามความสนใจ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเรียนในแขนงนี้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในรายวิชาเฉพาะทาง 26 หน่วยกิตได้เองทั้งหมด นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกเรียนรายวิชาของวิศวกรรมศาสตร์ในสาขาอื่น เช่น วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือ วิศวกรรมเครื่องกล ได้มากถึง 22 หน่วยกิตอีกด้วย ตัวอย่างแผนการเรียน อาทิ



Placeholder image


ตัวอย่างรายวิชาเลือกทางวิศวกรรมไฟฟ้าและรายวิชาเลือกข้ามศาสตร์ Rail Engineering, Cyber security, Energy planning, Data Science, Clean Energy, Wearable devices, Machine Learning, Internet of Things, Embedded System, Cost Analysis, Robotics.

ความก้าวหน้าในสายอาชีพหลังจบการศึกษา อาทิ Traction Power Engineer, Network Security Engineer, IC Design Engineer, Software Engineer, Systems Engineer, AI Engineer, Data Analyst, IT engineer.



 

 

25/25 Phuttamonthon 4 Road, Salaya, Nakhon Pathom 73170

02-8892225

electrical@mahidol.ac.th

https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egee

 

Placeholder image

 

 

Placeholder image