กลุ่มวิชาโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและบริการ

Image

Logistics Engineering Management
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย  :  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (หลักสูตรภาคพิเศษ)
ภาษาอังกฤษ      :  Master of Engineering  Program  in Logistics and Supply Chain (Special Program)

วิชาโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและบริการ
ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร : 
หลักสูตรนี้เป็นพหุวิทยาการซึ่งบูรณาการศาสตร์ด้านวิศวกรรมอุตสาหการ การจัดการอุตสาหกรรม การบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ  วิทยาศาสตร์สุขภาพ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเข้ากับศาสตร์ด้าน  โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  โดยมุ่งผลิตมหาบัณฑิตผู้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาและประยุกต์พหุวิทยาการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มีทักษะในการทำวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบ เป็นผู้นำความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร : เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว  มหาบัณฑิตจะมีความรู้ ความสามารถดังนี้
๑.๒.๑   มีคุณธรรม จริยธรรมตามมาตรฐานจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
๑.๒.๒  มีความรู้และความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านโลจิสติกส์และ โซ่อุปทาน สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
๑.๒.๓  วิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานวิจัย สร้างงานวิจัยด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานและดำเนินกระบวนการวิจัยได้อย่างถูกต้องเป็นไปตามจริยธรรมการวิจัย และสามารถใช้กระบวนการวิจัยผลิตงานวิชาการอื่นๆ ทางด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
๑.๒.๔  มีทักษะการทำงานเป็นทีม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีภาวะผู้นำและมีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
๑.๒.๕  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม

หลักสูตร : จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  ไม่น้อยกว่า  ๓๖ หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร : จัดการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิต ศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘ หลักสูตรปริญญาโท แผน ก แบบ ก๒ และแผน ข ดังนี้

  แผน ก แบบ ก ๒ แผน ข
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ ๑๕  หน่วยกิต ๑๕  หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๙    หน่วยกิต ๑๕  หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ ๑๒  หน่วยกิต -
สารนิพนธ์ - ๖    หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต  ๓๖  หน่วยกิต

๓.๑.๓  รายวิชาในหลักสูตร

(๑)  หมวดวิชาปรับพื้นฐาน
คณะกรรมการบริหารหลักสูตร จะพิจารณาให้นักศึกษาลงทะเบียนศึกษารายวิชาในหมวดวิชาปรับพื้นฐานตามความรู้พื้นฐานของนักศึกษาแต่ละคนและนักศึกษาต้องผ่านการประเมินผลด้วยสัญลักษณ์ S (Satisfactory) ในรายวิชา ต่อไปนี้

    หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
วศอก ๕๗๐ ความน่าจะเป็นและสถิติ ๓ (๓-๐-๖)
EGIE 570 Probability and Statistics  

(๒)  หมวดวิชาบังคับ ๑๕ หน่วยกิต

วศลซ ๕๐๐ หลักการจัดการวิศวกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ๓ (๓-๐-๖)
EGLS 500 Principle Logistics and Supply Chain Engineering Management  
วศลซ ๕๐๑ วิทยาระเบียบวิธีวิจัยและการประยุกต์ ๓ (๓-๐-๖)
EGLS 501 Research Methodology and Application  
วศลซ ๕๐๒ โครงข่ายการขนส่งและการกระจายสินค้า ๓ (๓-๐-๖)
EGLS 502 Transportation and Distribution Network  
วศลซ ๕๐๓ การจัดการสินค้าคงคลังและคลังสินค้า ๓ (๓-๐-๖)
EGLS 503 Inventory and Warehouse Management  
วศลซ ๕๐๔ สัมมนาประเด็นโลจิสติกส์สมัยใหม่และโซ่อุปทาน ๓ (๓-๐-๖)
EGLS 504 Seminar in Modern Logistics and Supply Chain Topics  

(๓)  หมวดวิชาเลือก    แผน ก  แบบ ก๒ ไม่น้อยกว่า  ๙  หน่วยกิต , แผน ข  ไม่น้อยกว่า    ๑๕   หน่วยกิต
นักศึกษาสามารถเลือกวิชาเลือกจากกลุ่มเดียวกันหรือข้ามกลุ่มได้กลุ่มวิชาโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและบริการ

วศลซ ๕๑๓ นวัตกรรมและโซ่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ๓ (๓-๐-๖)
EGLS 513 Innovation and Product Development Chain  
วศลซ ๕๑๔ การจัดหาและการจัดการสัมพันธภาพด้านซัพพลายเออร์ ๓ (๓-๐-๖)
EGLS 514 Procurement and Supplier Relationship Management  
วศลซ ๕๑๕ โลจิสติกส์และโซ่อุปทานบริการ ๓ (๓-๐-๖)
EGLS 515 Service Logistics and Supply Chain  
วศลซ ๕๑๖ โลจิสติกส์และโซ่อุปทานด้านมนุษยธรรม ๓ (๓-๐-๖)
EGLS 516 Humanitarian Logistics and Supply Chain  
วศลซ ๕๑๗ การเงินและการบัญชีเชิงจัดการ ๓ (๓-๐-๖)
EGLS 517 Managerial Accounting and Finance  
วศลซ ๕๑๘ การจำลองสถานการณ์ ๓ (๓-๐-๖)
EGLS 518 Simulation Modeling  
วศรร ๕๑๗ การขนส่งอย่างยั่งยืน ๓ (๓-๐-๖)
EGRS 517 SUSTAINABLE TRANSPORTATION  
วศรร ๕๑๘ วัสดุและกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมราง ๓ (๓-๐-๖)
EGRS 518 MATERIALS AND FABRICATION PROCESSES IN RAIL INDUSTRY  
วศลซ ๕๑๙ หัวข้อพิเศษทางโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและบริการ ๓ (๓-๐-๖)
EGLS 519 Special Topics in Industrial and Service Logistics  
วศลซ ๕๒๐ สัมมนาทางโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและบริการ ๓ (๓-๐-๖)
EGLS 520 Seminar in Industrial and Service Logistics  
วศสอ ๖๒๗ การบูรณาการสถาปัตยกรรมองค์กร ๓ (๓-๐-๖)
EGEA 627 Enterprise Architecture Integration  

นอกจากรายวิชาในหมวดวิชาเลือกข้างต้นแล้ว นักศึกษาสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนรายวิชาอื่นๆ ที่เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล หรือจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ตามความสนใจ และตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรืออาจารย์ที่ปรึกษาเห็นสมควร

(๔)  วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต

วศลซ ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ ๑๒ (๐-๓๖-๐)
EGLS 698 Thesis  

(๕) สารนิพนธ์ ๖ หน่วยกิต

วศลซ ๖๙๗ สารนิพนธ์ ๖ (๐-๑๘-๐)
EGLS 697 Independent Study  

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • บุคลากรระดับปฏิบัติการถึงผู้บริหารในองค์กรทั้งภาคเอกชน ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ทั้งในกิจการบริการสุขภาพ การผลิตสินค้าและบริการในแผนกที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เช่น ขนส่ง คลังสินค้า จัดซื้อ วางแผนและควบคุมการผลิต การผลิต การบริการ
  • ที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • วิทยากรหรือผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • นักวิจัยในสาขาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน   

กลุ่มสาขาวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
25/25 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 
โทรศัพท์ (66) 2889 2138 ต่อ 6619  e-mail: potjanee.sen@mahidol.edu

Copyright ©2024 Faculty of Engineering, Mahidol University. All Rights Reserved.

facebook_page_plugin
facebook_page_plugin