History of EGME

History of EGME ประวัติภาควิชา

ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2532 มหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินการจัดทำรายละเอียดโครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมร่างหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล เสนอต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับมติเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ซึ่งต่อมาทบวงมหาวิทยาลัยและคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ อนุมัติการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ได้มีการเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 20 คน โดยมี อาจารย์พันยศ โต๊ะทอง ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลท่านแรก

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ได้ผลิตวิศวกรเพื่อออกไปสู่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งหมด 25 รุ่น จำนวน 910 คน

On January 18th, 1989, Mahidol University conducted a detailed project on the establishment of Faculty of Engineering, Mahidol University. Along with the draft mechanical engineering curriculum proposed to the Mahidol University Council. The curriculum was approved by the Mahidol University Council on October 4th, 1989. Subsequently, the Ministry of University Affairs and the Cabinet approved the establishment of Faculty of Engineering, Mahidol University and it was published in the Gazette. According to Royal Decree, the Faculty of Engineering with the Department of Mechanical Engineering was established on August 29th, 1990. There were 20 students for the first batch with Lect. Panyot Thothong as the first head of the Department of Mechanical Engineering. Upto now, Department of Mechanical Engineering produced 910 engineers, for the business and industrial sectors. This is the first time for ABET accreditation is sought. Therefore, there is no previous information about ABET review.

ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี) สาขาวิศวกรรมเครื่องกล หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) สาขาวิศวกรรมเครื่องกล หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก)

จากการที่มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นทั้งด้านการเรียนการสอนและผลักดันส่งเสริมการศึกษาวิจัย ส่งผลให้ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการพัฒนางานวิจัยและการให้บริการทางวิชาการที่สร้างองค์ความรู้ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านการเรียนการสอน โดยสามารถแบ่งกลุ่มงานวิจัยเป็น 4 กลุ่มสาขาวิชาย่อย คือสาขาการคำนวณและการออกแบบทางกล (Mechanical Computation and Design) สาขาด้านอุณหพลศาสตร์ (Thermal Systems) สาขายานยนต์และการควบคุม (Control and Automotive) และสาขาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (Energy and Environment) ผลงานวิจัยที่ผ่านมา นอกเหนือจากจะก่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ในศาสตร์ด้านวิศวกรรมเครื่องกลแล้ว ยังมีส่วนในการพัฒนาและก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีของประเทศอีกด้วย