ข้อมูลภาควิชา

วิศวกรรมเครื่องกล ถือเป็นสาขาวิชาพื้นฐานที่สำคัญต่อการศึกษาหรือพัฒนาองค์ความรู้ทางวิศวกรรมในด้านต่างๆ โดยในหลักการแล้วนั้นการศึกษาด้านวิศวกรรมเครื่องกลจะมุ่งเน้นการศึกษา วิเคราะห์ อธิบาย ออกแบบ และพัฒนาการเคลื่อนที่ของสิ่งที่สนใจ โดยสิ่งที่สนใจในที่นี้อาจเป็นสิ่งที่มองเห็น เช่น การเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ หรืออาจะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น เช่น พลังงานในรูปแบบต่างๆ

อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลมีจำนวน 16 คน โดยจำนวนนี้เป็นอาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกจำนวน 14 คน และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท 2 คน งานวิจัยและความเชี่ยวชาญของอาจารย์ประจำภาควิชามีความหลากหลาย เช่น พลังงานหมุนเวียน การควบคุมอัตโนมัติ ยานยนต์ การเผาไหม้ภายใน โครงสร้างอากาศยาน ระบบทำความเย็น ระบบปรับอากาศ ชีวกลศาสตร์ วิธีเชิงตัวเลขของกลศาสตร์ของไหล (CFD) ไฟไนต์เอลิเมนต์ หุ่นยนต์ ระบบประมวลภาพ กลศาสตร์เชิงทฤษฎี เป็นต้น

ปีการศึกษา 2559 มีนักศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 297 คน (รวมทั้ง 4 ชั้นปี) และในระดับปริญญาโท จำนวน 30 คน และปริญญาเอก 7 คน มีชมรมของนักศึกษาจำนวน 1 ชมรม คือ ชมรมออโต้เทค

นอกจากการใช้พื้นที่สำหรับนักศึกษาแล้ว ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลยังมีหน่วยวิจัยและบริการวิชาการ รวมถึงห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของภาควิชาฯเอง ประกอบด้วย

1. โครงการที่ปรึกษาทางวิศวกรรม (Office of Engineering Consultancy) ซึ่งมีหน้าที่ศึกษาความ
เหมาะสมการลงทุน การออกแบบควบคุมติดตั้งระบบ ตรวจวินิจฉัย ตรวจสอบมาตรฐาน ประเมินผลให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรมวิจัยและพัฒนา บำรุงรักษาซ่อมและปรับปรุงระบบทางวิศวกรรมเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

2. โครงการศูนย์วิจัยและปฏิบัติการทดสอบพลังงาน (Center for Energy Research and Testing
Laboratory) ซึ่งทำหน้าที่ศึกษาและวิจัยด้านมาตรฐานการทดสอบทางด้านวิศวกรรม โดยมุ่งเน้นการทดสอบสมรรถนะและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ เครื่องจักรหรือวัสดุ รวมทั้งการออกแบบเครื่องมือ/ห้องทดสอบสมรรถนะ และประสิทธิภาพของอุปกรณ์ เครื่องจักร หรือวัสดุที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลโดยมีห้องปฏิบัติการทดสอบภายใต้การกำกับดูแลของศูนย์ฯ จำนวน 5 ห้อง

– ห้องทดสอบมอเตอร์และ Inverter ตามมาตรฐาน IEC60034-2 และ IEC61800-3(ขนาด 3-10 HP) ใช้ห้องทดสอบอยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย
– ห้องทดสอบมอเตอร์และ Inverter ตามมาตรฐาน IEC60034-2 และ IEC61800-3 (ขนาด 10-50 HP) ME117
– ห้องทดสอบเตาแก๊สแรงดันต่ำตามมาตรฐาน มอก. 2312
– ห้องทดสอบฉนวนกันความร้อนตามมาตรฐาน ASME 177
– ห้องทดสอบเครื่องยนต์ขนาดเล็กตามมาตรฐาน JIS8017-JIS8018

3. ห้องปฏิบัติการกลศาสตร์เชิงคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ (Laboratory of Computer
Mechanics for Design) สามารถออกแบบเครื่องจักรกล การวิเคราะห์การกระแทก การวิเคราะห์การไหล การวิเคราะห์การสั่นสะเทือน การวิเคราะห์การถ่ายเทความร้อน โดยช่วยอำนวยความสะดวกในการคำนวณและลดเวลาที่ใช้ในการออกแบบ

4. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering Computer
Laboratory) ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงจำนวน 40 เครื่องพร้อมด้วยซอฟท์แวร์เฉพาะทางที่เหมาะสมสำหรับการศึกษ การวิจัย และการออกแบบทางวิศวกรรมเครื่องกล